พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖
ภายหลังจากที่พระบาทสมเด็จพระมงกฎเกล้าเจ้าอยู่ฯ ทรงพระราชทานกำเนิดเสือป่าได้ 2 เดือน ซึ่งในระยะเวลานั้นกิจการเสือป่าได้ดำเนินไปอย่างเป็นที่พอพระราชหฤทัยอย่างยิ่ง เห็นได้จากการเพิ่มจำนวนสมาชิกของเสือป่าที่มากขึ้น และกิจการเสือป่าถูกจำแนกออกไปเป็นกองเสือป่าประเภทต่างๆ อีกมาก...
อ่านต่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ ทรงรับราชภาระต่อจาก พระบาทสมเด็จพระมงกฎเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ โดยทรงรับตำแหน่งเป็น นายกสภากรรมการกลางลูกเสือ ซึ่งมีหน้าที่กำหนดนโยบาย และอนุมัติงบประมาณ ทรงโปรดเกล้าให้คัดเลือกนักเรียน 2 คน เข้าร่วมประชุมในเรื่องเกี่ยวกับลูกเสือรุ่นใหญ่ ที่ประเทศอังกฤษ คือ นายปุ่น มีไผ่แก้ว และ นายประเวศ จันทนยิ่งยง...
อ่านต่อพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล รัชกาลที่ ๘
อาจกล่าวได้ว่ากิจการลูกเสือในยุคนี้เป็นยุคที่มีความเคลื่อนไหว ตลอดจนพัฒนาการแห่งคณะลูกเสือน้อยที่สุด ด้วยเหตุว่า 1. เกิดสงครามข้อพิพาทดินแดนในอินโดจีน ระหว่างไทยกับฝรั่งเศส ในปี พ.ศ. 2482 2. เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ. 2484 3. ยุคเริ่มต้นในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข...
อ่านต่อพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙
ครั้นมาถึงในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 9 ที่ทรงเสด็จขึ้นเสวยสิริราชสมบัติ ต่อจากพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 8 ในวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 พระองค์ทรงปฏิบัติราชภารกิจในฐานะกษัตริย์ ในหลายๆ ด้าน กิจการลูกเสือเป็นกิจการที่พระองค์ทรงให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง...
อ่านต่อพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10
พระราชบัญญัติลูกเสือ พ.ศ.2551 หมวด 1 บททั่วไป มาตรา 6 ให้มีคณะลูกเสือแห่งชาติ ประกอบด้วยลูกเสือทั้งปวงและบุคลากรทางการลูกเสือ
มาตรา 7 พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขของคณะลูกเสือแห่งชาติ
รัชกาลที่ 10 ทรงเป็นลูกเสือสำรองตั้งแต่วันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ.2504 ซึ่งเป็นวันที่โรงเรียนจิตรลดาทำพิธีเปิดหน่วย “ลูกเสือสำรอง” โดย นายกอง วิสุทธารมณ์ อธิบดีกรมพลศึกษาขณะนั้น ในฐานะเลขาธิการสภาคณะกรรมการจัดการลูกเสือแห่งชาติ เป็นประธานในพิธี
อ่านต่อ